เปิดคุณสมบัติสีทากันซึม แก้ไขปัญหาบ้านร้อน ร้าว รั่ว รา

สีทากันซึม

ใกล้ช่วงหน้าฝนแบบนี้ หลายคนคงเตรียมพร้อมตรวจเช็กสภาพบ้านแล้วเจอกับหลายปัญหาไม่ว่าจะบ้านความร้อน รอยแตกร้าว น้ำรั่วซึม และเชื้อรา ซึ่งเป็น 4 ปัญหาบ้านหน้าฝนที่พบได้บ่อยมากและมักแผลงฤทธิ์ในช่วงหน้าร้อนและหนักหนาสุด ๆ ช่วงหน้าฝน ทั้งสีลอกล่อน โป่งพอง คราบราดำ ตะไคร่น้ำ เจ้าของบ้านก็คงร้อนใจ น้ำตาจะไหลกันแทบทุกวัน แต่ถ้าเราแก้ไขปัญหาร้อน ร้าว รั่ว ราตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยระบบสีทากันซึมดาดฟ้า หลังคา ผนัง ร่วมกับเคมีภัณฑ์กันซึมจากเบเยอร์ ก็มั่นใจได้เลยว่าไม่เจอปัญหา อยู่บ้านอย่างมีความสุขแน่นอนครับ วันนี้เราเลยจะมาแนะนำสีทากันซึมดาวเด่นทั้ง 2 ตัวกัน ไปดูกันเลย!

 

แนะนำ 2 สีทากันซึมคุณภาพสูงจากเบเยอร์ 

ต้องบอกก่อนว่า สีทากันซึมนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักครับ แตกต่างกันไปตามส่วนประกอบของสีทากันซึม ได้แก่ สีทากันซึมอะคริลิก (Acrylic) สีทากันซึมโพลียูรีเทน (Polyurethane: PU) และสีทากันซึมโพลียูรีเทนไฮบริด (Polyurethane Hybrid) 

โดยสองดาวเด่นของเราอย่าง Beger Roof Guard W-001 จะผลิตจากอะคริลิกซึ่งช่างนิยมใช้กันมาก โดดเด่นทั้งกันน้ำซึม ทนทาน ยืดหยุ่น และกันความร้อนได้ดีในราคาคุ้มค่า ส่วน Beger RoofSeal Cool จะเป็นลูกผสมโพลียูรีเทนไฮบริด ซึ่งจะอัพเกรดคุณสมบัติให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งยังมีจุดแข็งที่นวัตกรรมเซรามิก คูลลิ่ง (Ceramic Cooling) สะท้อนความร้อนได้สูงถึง 96.3% ที่สำคัญ สีทากันซึมทั้งสองตัวนี้มีการันตีคุณภาพมาตรฐานมอก. ด้วยนะครับ คือ มอก. 2321-2564 สีอิมัลชันทนสภาวะอากาศ และ มอก. 2514-2564 สีอิมัลชันลดความร้อนจากแสงอาทิตย์  

 

สรุปคุณสมบัติของสีทากันซึม

มาดูคุณสมบัติของสีทากันซึมเหล่านี้แบบเข้าใจง่ายด้วยภาพนี้เลยครับ เซฟไปส่งต่อได้เลยนะ! 

คุณสมบัติสีทากันซึม

 

เฉดสีของสีทากันซึมมีอะไรบ้าง

เพื่อตอบสนองความต้องการและการใช้งานที่หลากหลาย สีทากันซึมจากเบเยอร์จึงมีครบสียอดนิยม ไม่ว่าจะ สีเขียว สีขาว สีเทา สีน้ำเงิน หรือสีน้ำตาลแดง เจ้าของบ้านสามารถเลือกสีที่ถูกใจไปใช้ได้เลยสวย ๆ ครับ 

colors

*ตัวอย่างสีทั้งหมดใกล้เคียงกับสีจริงเท่านั้น แนะนำให้ดูสีจริงที่ร้านค้าใกล้บ้านก่อนการสั่งซื้อ 

 

สีทากันซึมใช้กับพื้นที่ใดได้บ้าง

หลายคนอาจคุ้นเคยว่าสีกันซึมเอาไว้ทาดาดฟ้า หลังคา และผนัง แต่อันที่จริงสีชนิดนี้ทาได้หลากหลายกว่านั้นครับ ดังนี้

  • ดาดฟ้าและพื้นคอนกรีต
  • หลังคาโลหะอย่างเมทัลชีท 
  • หลังคากระเบื้องอย่างกระเบื้องลอนคู่ กระเบื้องโมเนีย
  • ระเบียง รางน้ำคอนกรีต
  • อิฐมอญ อิฐบล็อค
  • ไม้แผ่น ไม้รั้ว ไม้เทียม
  • พื้นยางมะตอย

areas

 

ข้อควรรู้ก่อนทาสีกันซึม

นอกจากสีทากันซึมแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทาสีกันซึมก็คือ การเตรียมพื้นผิวอย่างถูกต้อง โดยพื้นผิวต้องแห้งและสะอาด ฟิล์มสีที่ลอกล่อนก็ให้ขูดหรือแซะออกให้หมด หากมีเชื้อราหรือตะไคร่น้ำก็ควรทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อรา Beger MouldFree M-001 กรณีรอยแตกร้าว ลายงา ควรอุดโป๊วด้วย Beger Sealant โดยเลือกใช้ซีลแลนท์ที่เหมาะกับขนาดของรอยแตกนั้น ๆ แล้วจึงจะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนทาสีรองพื้นและทาสีกันซึมทับหน้า 

กรณีที่พื้นผิวดาดฟ้าหรือผนังของเราเป็นพื้นปูนเก่า แนะนำให้ทาสีรองพื้นปูนเก่า ทนชื้อนสูง อย่าง Beger Pro Quick Primer B-1900 แล้วจึงค่อยทาสีกันซึมตามนะครับ จะได้เพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะและการปกป้องให้ดียิ่งขึ้น และในระหว่างทาสีกันซึม การปูตาข่ายไฟเบอร์ เมช (Fiber Mesh) ก็จำเป็นไม่แพ้กัน เพราะจะช่วยเสริมความแข็ง การยึดเกาะกับพื้นผิว และยืดอายุการใช้งานสีทากันซึมได้เป็นอย่างดี

ระบบสีทากันซึม

 

วิธีใช้งานสีทากันซึม

หากใครมีความกังวลเรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์ระบบสีทากันซึม หรือกำลังรีโนเวทบ้านในช่วงหน้าฝนแล้วเจอปัญหาบ้านร้อน น้ำรั่วซึม รอยแตกร้าว หรือเชื้อรา สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเราโดยตรงที่ Line: @begerpaint ในวันและเวลาทำการครับผม   

SHARE :
กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง