TH | EN

กันซึมดาดฟ้า สำคัญแค่ไหน? รู้ทันก่อนบ้านรั่วซึม พร้อมแนะนำวิธีเลือกวัสดุกันซึมที่ได้ผลจริง

ทำไม "ระบบกันซึม" จึงมีความสำคัญต่อบ้านของประเทศไทย?

ประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนชื้น มีทั้งแสงแดดแรงและฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือฤดูเปลี่ยนผ่าน ความชื้นในอากาศจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่งผลให้พื้นที่ต่าง ๆ ของบ้าน เช่น ดาดฟ้า หลังคา และผนังภายนอก กลายเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดรอยรั่วซึมได้ง่าย หากไม่มีระบบกันซึมที่มีประสิทธิภาพ

หากปล่อยให้เกิดการรั่วซึม อาจนำไปสู่ปัญหา:

  • เกิดคราบน้ำหรือเชื้อรา บริเวณฝ้าเพดานและผนัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสวยงามและสุขอนามัยภายในบ้าน

  • สีลอกพองหรือวัสดุผนังเสียหาย จากความชื้นสะสม ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมซ้ำซ้อน

  • กลิ่นอับชื้นสะสม ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคทางเดินหายใจหรือภูมิแพ้

ระบบกันซึมที่ดีจึงถือเป็น "การลงทุนเพื่อป้องกันปัญหาในระยะยาว" สำหรับบ้านไทยทุกภูมิภาค โดยเฉพาะพื้นที่ที่เจอฝนบ่อยหรือแดดแรงสลับกันตลอดปี

5 สัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าบ้านของคุณควรได้รับการ “กันซึม” อย่างเร่งด่วน

การรั่วซึมของน้ำมักเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ ที่มองข้ามได้ง่าย แต่หากปล่อยไว้โดยไม่รีบแก้ไข อาจลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลต่อทั้งโครงสร้างอาคารและสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ต่อไปนี้คือสัญญาณที่ไม่ควรมองข้าม:

    1. มีคราบน้ำหรือรอยเปียกบนฝ้าเพดานหรือผนัง

         พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน หรือหลังจากฝนตกหนัก เป็นสัญญาณเบื้องต้นของการซึมผ่านของน้ำจากหลังคาหรือดาดฟ้า

   2. พื้นดาดฟ้ามีรอยแตกร้าวหรือรอยแยก

         รอยแตกร้าวเป็นช่องทางสำคัญที่น้ำสามารถแทรกซึมเข้าสู่ชั้นโครงสร้างได้โดยตรง ซึ่งหากปล่อยไว้อาจทำให้โครงสร้างเสื่อมสภาพในระยะยาว

   3. ผนังเกิดอาการพอง ลอก หรือสีหลุดเป็นแผ่น

         ความชื้นที่สะสมภายในผนังทำให้สีทาผิวภายนอกเสื่อมคุณภาพ ผนังจึงเกิดการพองตัว ลอกล่อน และลดทอนความสวยงามของบ้าน

   4. พบคราบตะไคร่น้ำหรือเชื้อราสีเขียว - คราบดำบนผนัง หรือพื้นผิวภายนอก

         สิ่งเหล่านี้เกิดจากความชื้นสะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสัญญาณชัดเจนว่ามีการรั่วซึมของน้ำในบริเวณดังกล่าว

   5. มีกลิ่นอับภายในบ้าน แม้มีการระบายอากาศ

         กลิ่นอับเรื้อรังมักเกิดจากความชื้นที่สะสมอยู่ภายในผนังหรือฝ้า ซึ่งอาจนำไปสู่การเติบโตของเชื้อราและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย

แล้วจะเริ่ม “กันซึม” อย่างไรให้ได้ผลจริง?

สำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไป โดยเฉพาะในเขตที่มีฝนตกหนักหรือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย การเลือกใช้วัสดุกันซึมที่ยืดหยุ่น ทนร้อน และสามารถทาเองได้ จะช่วยลดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในทางเลือกที่ได้รับความนิยม คือ

เบเยอร์ โมลด์ฟรี เอ็ม-001 (Beger Mouldfree M-001) –น้ำยากำจัดเชื้อราและตะไคร่น้ำ เป็นน้ำยาสูตรพิเศษ ที่มีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อรา และตะไคร่น้ำได้ลึกถึงราก ด้วยส่วนผสมพิเศษช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก

- ฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำได้ลึกถึงราก

- กลิ่นไม่ฉุน ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้อยู่อาศัย

- สามารถทาทิ้งไว้ได้โดยไม่ต้องล้างออก

เบเยอร์ โปร ควิก ไพรเมอร์ บี-1900 (Beger Pro Quick Primer B-1900) - สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ ทนชื้นสูง 40% สูตรใหม่! เนื้อสีขาวเข้มข้นกลบพื้นผิวได้ดียิ่งขึ้น พร้อมใช้งานไม่ต้องผสมทินเนอร์! เบเยอร์ บี-1900 สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ สูตรน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ

- ใช้ได้กับพื้นผิวปูนทุกประเภททั้ง ปูนใหม่ ปูนเก่าเสื่อมสภาพ หรือปูนสด (ผนังปูนที่เพิ่งฉาบเสร็จ 2 วัน)

- ทนต่อความชื้นสูงถึง 40%

- สามารถปกปิดพื้นผิวได้ดี กลบมิดได้มากกว่าสีรองพื้นปูนทั่วไป

- แทรกซึมลึก ยึดเกาะได้ดีเยี่ยม บนพื้นผิวไฟเบอร์ซีเมนต์และปูนทุกประเภท

- ป้องกันคราบเกลือและความด่างจากปูน ป้องกันการเกิดเชื้อรา และตะไคร่น้ำ

- แก้ไขปัญหาสีลอกล่อน โป่งพองและเป็นฝุ่นชอล์ก ป้องกันสีด่างและสีซีดจาง

 แนะนำ :กรณีทีปรับปรุงซ่อมแซม พื้นผิวเก่าผ่านใช้งานนาน

เบเยอร์ พียู ซีล (Beger PU Seal)โพลียูรีเทน ซีลแลนต์คุณภาพสูงมีความยืดหยุ่นสูง ใช้สำหรับอุดรอยแตกร้าวก่อนทาสี เพื่อเสริมประสิทธิภาพให้ระบบกันซึมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

- ยึดเกาะแน่นบนพื้นผิวคอนกรีต ปูน ไม้ อะลูมิเนียม

- ยืดหยุ่นสูง ไม่แตกร้าวตามอุณหภูมิเปลี่ยน

- เหมาะสำหรับอุดรอยแตกร้าวบนดาดฟ้า และรอยต่อระหว่างผนัง-พื้น

เบเยอร์ รูฟซีล คูล (Beger ROOFSEAL Cool) – สีทากันซึมชนิดโพลียูรีเทน ไฮบริด ที่ช่วยป้องกันการรั่วซึม 100% และยังสามารถสะท้อนความร้อนได้สูงสุดถึง 12°C เหมาะกับดาดฟ้าคอนกรีต หลังคาราบ และรอยต่อภายนอก

ขั้นตอนการทากันซึมดาดฟ้าแบบมืออาชีพ

1. ล้างทำความสะอาดพื้นผิว

- ขจัดฝุ่น คราบน้ำมัน คราบไข และเศษวัสดุออกให้หมด

- พื้นผิวต้อง สะอาด แห้งสนิท และไม่มีเศษหลุดล่อน

2. ฆ่าเชื้อราและตะไคร่น้ำด้วย Beger MoldFree M-001

- ใช้ Beger MoldFree M-001 ทาให้ทั่วบริเวณ

- ปล่อยให้แห้ง โดยไม่ต้องล้างออก เพื่อยับยั้งเชื้อราระยะยาว

แนะนำ เหมาะกับพื้นที่ ที่มีเชื้อราและไคร่น้ำ

3. ทารองพื้นป้องกันความชื้นด้วย Beger Pro Quick Primer B-1900

- ใช้ Beger Pro Quick Primer B-1900 ทาหนึ่งรอบ

- ช่วยเพิ่มการยึดเกาะและป้องกันความชื้นจากพื้นผิวเดิม

4. อุดรอยร้าวด้วย Beger PU SEAL

- ทาตามแนวรอยแตกร้าว / รอยต่อ

- ปล่อยให้แห้งสนิทก่อนเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

แนะนำ เหมาะกับพื้นที่ ที่มีรอยแตกร้าว

5. ทา Beger RoofSeal Cool (ทา 3 ชั้น)

- เที่ยวที่ 1: ผสมกับน้ำสะอาดในอัตรา 3:1 ใช้เป็นชั้นรองพื้น

   (ใส่ไฟเบอร์เมช Beger Fiber Meshเสริมแรงยึดเกาะบริเวณรอยต่อและรอยแตกร้าว)

- เที่ยวที่ 2: ทา แบบไม่ผสมน้ำ หลังเที่ยวแรกแห้ง 2-4 ชม.

- เที่ยวที่ 3: ทาชั้นสุดท้าย แบบไม่ผสมน้ำ ทิ้งไว้ให้แห้ง 12 ชม. ก่อนใช้งาน

แนะนำ ให้ทาแต่ละชั้นในแนวสลับทิศทาง (ไขว้แนว) เพื่อให้การเคลือบผิวเรียบเนียนและปกปิดทุกมุมรอยต่อได้สมบูรณ์

สรุป: ป้องกันบ้านจากฝน-แดด ด้วยระบบกันซึมที่มีประสิทธิภาพ

“รอยแตกร้าว” คือจุดเริ่มต้นของปัญหาน้ำรั่วซึม ที่มักเกิดขึ้นบริเวณดาดฟ้า ผนัง และหลังคาคอนกรีต หากปล่อยไว้โดยไม่ซ่อมแซมอย่างถูกวิธี ความชื้นจะสะสมจนก่อให้เกิดคราบ รา และโครงสร้างเสื่อมสภาพในระยะยาว เพื่อซ่อมแซมได้ทันก่อนปัญหาลุกลาม อย่ารอจนบ้านเกิดคราบ เชื้อรา หรือกลิ่นอับ ระบบกันซึมที่วางไว้อย่างถูกต้องตั้งแต่ต้น ช่วยปกป้องบ้านคุณจากสภาพอากาศสุดขั้วได้อย่างยั่งยืน

บ้านที่กันซึมอย่างถูกวิธี = บ้านที่เย็น อยู่สบาย และปลอดภัยในระยะยาว

 

ผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมอื่น ๆ ได้ที่ร้านใกล้บ้านคุณ

ค้นหาร้านค้าที่จำหน่ายใกล้คุณ >> คลิกที่นี่เพื่อค้นหาร้านค้าใกล้ฉัน

คลิกเพื่อดูรีวิว ทาสีกันซึมดาดฟ้า แก้ปัญหารั่ว ร้อน ร้าว ซ้ำซาก | เบเยอร์ รูฟซีล คูล

ติดต่อทีมผู้เชี่ยวชาญของ Beger พร้อมให้คำแนะนำฟรี! >> คลิกเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่

SHARE :
กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง