ปัญหาหลังคารั่วซึม (Leaky Roofs)

leaky roof

หลังคารั่วซึม (Leaky Roofs) โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนเป็นสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับเจ้าของบ้านเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะส่งผลให้เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านเสียหายแล้ว ยังก่อให้เกิดความรำคาญใจ เพราะค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีกด้วย

Leaky roofs2

โดยปัญหาหลังคารั่วซึมส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นบริเวณหลังคากระเบื้องและหลังคาคอนกรีต เจ้าของบ้านจึงควรหมั่นตรวจสอบจุดที่มักรั่วซึม และรีบซ่อมแซมด้วยผลิตภัณฑ์กันซึมตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาภายในบ้าน เช่น ฝ้าพัง เชื้อรา ตะไคร่น้ำ หรือสีลอกล่อน จนทำให้บ้านเสียหายและหมดสวย

 

สาเหตุของหลังคารั่วซึม

  • การก่อสร้าง ติดตั้ง หรือต่อเติมที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • แผ่นสันครอบมีความเสียหาย เกิดช่องว่าง รูรั่ว
  • แผ่นกระเบื้องหลังคาแตกร้าว
  • รูรั่วบริเวณสกรูที่ยึดกระเบื้องหลังคา
  • รอยต่อขอบมุมระหว่างผนังและพื้นเกิดรอยแยกแตกร้าว
  • พื้นคอนกรีตเกิดรอยแตกร้าว ปูนเสื่อมสภาพ
  • ผลิตภัณฑ์กันซึมที่ไม่ได้มาตรฐาน

 

แนวทางแก้ไขหลังคารั่วซึม

  • ทำความสะอาดหลังคาให้ทั่วเพื่อกำจัดฝุ่นหรือสิ่งสกปรกออกให้หมด 
  • กำจัดเชื้อราด้วย Beger Mouldfree M-001 โดยทาให้ชุ่มแล้วทิ้งไว้ให้แห้งโดยไม่ต้องล้างออก
  • อุดโป้วรอยแตกร้าวด้วย Acrylic Sealant / PU Sealant ตามความเหมาะสม เช่น Beger Acrylic Sealant F-001 สำหรับรอยแตกขนาด 2-10 มม. Beger Acrylic Filler F200 สำหรับรอยแตกขนาดเล็ก 0.3-2 มม. หรือ Beger PU Seal ชนิดหลอด สำหรับรอยแตกที่ยังเคลื่อนตัว 
  • ทารองพื้น Beger Pro Quick Primer B-1900 จำนวน 1 เที่ยว แล้วทิ้งให้แห้งสนิท
  • ทาสีทากันซึม Beger RoofSeal Cool เที่ยวแรกโดยไม่ต้องผสมน้ำ พร้อมปูตาข่ายเสริมแรง Beger Fiber Mesh ทิ้งไว้ให้แห้งอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง แล้วจึงทาทับเที่ยวที่ 2 

 

คำแนะนำ 

เจ้าของบ้านควรตรวจสอบการพยากรณ์อากาศ เพื่อให้แน่ใจว่ามีสภาพอากาศที่แห้งและมีเวลาเพียงพอสำหรับการทาสีให้แห้ง และเพื่อประสิทธิภาพการยึดเกาะให้ดีที่สุด ช่างหรือเจ้าของบ้านควรใช้ Beger RoofSeal Cool ร่วมกับตาข่ายเสริมแรง Beger Fiber Mesh เสมอ

 

SHARE :
กรุณาเลือกหมวดหมู่การค้นหา และพิมพ์คำค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง