รู้หรือไม่ว่า...ฟิล์มสีที่เริ่ม “ลอก” หรือ “พองตัว” ไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่มันอาจกำลังส่งสัญญาณถึงปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ควรมองข้าม
หลายคนอาจเคยเจอกับ “สีลอก” ลอกหลุดจากผนังบ้าน ปูนฉาบ หรือผนังเบา แม้กระทั่งโลหะเหล็ก และไม้ ซึ่งปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นหลังผ่านฤดูฝนหรือช่วงที่อากาศชื้นสะสม และบ่อยครั้งที่หลายบ้านเลือก "แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ" ด้วยการทาสีทับใหม่ โดยไม่รู้ว่าอาจทำให้ สีลอกซ้ำซาก เร็วขึ้นกว่าเดิม
ในบทความนี้ เราจะพาคุณมาทำความเข้าใจอย่างเป็นกลางถึง “สาเหตุของฟิล์มสีลอกร่อน” (Spalling) พร้อมแนะนำวิธีป้องกันและแก้ไขแบบยั่งยืน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพสูงจาก Beger ที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องผิวงานให้ สวยทนยาวนาน ไม่ลอกซ้ำง่ายๆ
Spalling คืออะไร?
“Spalling” หรือ ฟิล์มสีลอกร่อน หมายถึงอาการที่เนื้อสีหรือวัสดุเคลือบผิว แยกตัวออกจากพื้นผิวเดิม ไม่ว่าจะเป็น ปูน คอนกรีต โลหะ และไม้ โดยมีลักษณะลอกเป็นแผ่น พองตัว หรือเป็นรอยปริแตก ซึ่งมักเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ แต่สามารถ ลุกลามเป็นวงกว้าง ได้ภายในเวลาไม่นานหากไม่มีการดูแล
สาเหตุหลักของฟิล์มสีลอกร่อน
1. ความชื้นสะสม
ความชื้นที่ซึมเข้าสู่ผิววัสดุจะค่อยๆทำลายการยึดเกาะของฟิล์มสีจนเกิดการพองหรือหลุดล่อน โดยเฉพาะในงานทาภายนอกที่เจอทั้งแดดและฝนบ่อย
2. การเตรียมพื้นผิวไม่เหมาะสม
ฝุ่น น้ำมัน คราบปูน หรือเศษสีเก่า หากไม่ทำความสะอาดก่อนทา ย่อมลดแรงยึดเกาะของฟิล์มสี ลงทันที
3. การเลือกสีที่ไม่เหมาะกับพื้นผิว
พื้นผิวแต่ละประเภท (เช่น คอนกรีต เหล็ก และไม้) ต้องใช้สีที่ออกแบบมาเฉพาะ หากใช้ผิดประเภท จะเกิดการ ลอกภายหลัง ได้ง่าย
4. การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
พื้นผิวที่มีการขยายตัวและหดตัวจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เช่น ผนังปูน ดาดฟ้า หลังคาบ้าน อาจทำให้เกิดการแตกร้าวของพื้นผิวหรือฟิล์มสีได้ และจะทำจะเกิดการลอกร่อนตามมา
วิธีป้องกัน “สีลอกร่อน”
1. เตรียมพื้นผิวอย่างมืออาชีพ
- ขัด ล้าง ทำความสะอาดพื้นผิวอย่างเหมาะสม
- สำหรับคอนกรีต ปูนฉาบ ปัญหามักจะมาจากความชื้นสะสมที่มาจากชายล่างผนัง (ความชื้นใต้ดิน) หรือความชื้นจากผนังมีรอยแตกร้าว
- สำหรับงานไม้ มักจะมาจากรอยแตก รอยต่อชิ้นงานไม้ที่ความชื้น หรือน้ำสามารถแทรกซึมเข้าไปในตัวไม้ได้
- สำหรับงานโลหะเหล็กมักจะมาจากการไม่ทำความสะอาดพื้นผิวที่มีคราบไขมาจากผู้ขาย/ผู้ผลิต และอาจจะเกิดคราบสนิมก่อนอยู่แล้วที่จะเริ่มระบบงานสี
2. เลือกระบบงานสีให้เหมาะกับหน้างาน
- สำหรับงานคอนกรีตปูนฉาบทั่วไป: ควรทิ้งให้ปูนฉาบมีอายุไม่น้อยกว่า 28 วัน หรือความชื้นไม่เกิน 14% (จากเครื่องวัดความชื้น Protimeter) ให้เลือกใช้สีรองพื้นปูนใหม่กันด่างตามปกติ กรณีงานเร่งด่วนที่ไม่สามารถรอได้นานขนาดที่ว่า หรือกรณีปูนเก่าที่เสียหาย ให้มาเลือกใช้เป็นสีรองพื้นอเนกประสงค์ที่ทนความชื้นได้สูง เช่น Beger Water Block Primer B-3100 (ทนชื้นได้สูงสุด 75%) หรือ Beger Pro Quick Primer B-1900 (ทนชื้นได้สูงสุด 40%)
- สำหรับงานไม้ทั่วไป: ให้ทาด้วยสีรองพื้นไม้กันเชื้อรา BegerShield Supergloss Enamel Universal Undercoat White Primer #B-966 และกรณีไม้ที่มียางให้ทารองพื้นเที่ยวแรกก่อนด้วยสีรองพื้นไม้อลูมิเนียมกันยางไม้ด้วย BegerShield Diamond Supergloss Enamel Primer #BD-1601
- สำหรับงานโลหะเหล็ก: ให้ทาด้วยสีรองพื้นกันสนิมที่มีหลายรุ่น - คุณภาพ หลายราคาให้เลือกใช้
3. ลงสีทับหน้าตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง
- สีทับหน้าทั้งงานคอนกรีต ปูนฉาบ, งานไม้ และงานโลหะเหล็ก เบเยอร์มีผลิตภัณฑ์หลายรุ่น - คุณภาพ หลายราคาให้เลือกใช้
- ทาอย่างน้อย 2 เที่ยว โดยเว้นระยะให้แห้งตามที่มีระบุไว้ในแต่ละผลิตภัณฑ์
- หลีกเลี่ยงการทาขณะฝนตก หรือมีความชื้นสูง
- กรณีที่เป็นสีสูตรน้ำมันจำเป็นต้องใช้ตัวทำละลาย (Solvent) ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น
สรุป: ป้องกันปัญหา “สีลอกร่อน”
ฟิล์มสีที่ดี เริ่มต้นจาก “การเตรียมพื้นผิว” และ “การเลือกสีให้ตรงกับสภาพแวดล้อม”
การเข้าใจสาเหตุของปัญหา Spalling และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเหมาะสม จะช่วยให้ สีบ้านคุณอยู่ทนนานขึ้น ประหยัดงบซ่อมแซม และยังช่วย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้อีกด้วย โดยเฉพาะหากเลือกใช้ระบบงานสีที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันปัญหาลอกร่อนซ้ำซากในสภาพอากาศประเทศไทยโดยเฉพาะ