ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (31)สีทาภายใน (27)เบเยอร์คูล (20)กิจกรรม (19) สีทาบ้านภายนอก (18)สิ่งแวดล้อม (13)ปัญหาบ้านหน้าฝน (11)รักษ์โลก (11)ไอเดียสี (11)begercool (10)สีทาเหล็ก (10)sustainability (9)โปรโมชั่น (9)ทาสีบ้าน (8)ทาสีบ้านใหม่ (8)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (8)รีโนเวทบ้านเก่า (8)สีทาบ้าน (8)ไอเดียแต่งบ้าน (8)สีงานไม้ (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ซ่อมบ้าน (6)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีทาภายนอก (6)สีทาไม้ (6)สีย้อมไม้ (6)color trends (5)คาร์บอน (5)สีคาร์บอนต่ำ (5)สีทาหลังคา (5)สีบ้านเย็น (5)สีห้องนอน (5)อุดโป๊ว (5)เฉดสียอดนิยม (5)เชื้อรา (5)กันซึม (4)กันรั่ว (4)น้ำท่วม (4)สีทากันซึม (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีรักษ์โลก (4)สีเบเยอร์ (4)หลังคา (4)ห้องครัว (4)ฮวงจุ้ย (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)AeroTech (3)BegerReWithYou (3)ความชื้น (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทน 2K (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)รอยแตกร้าว (3)ฤกษ์มงคล (3)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (3)สีบ้านมงคล (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีอุตสาหกรรม (3)สีเหลือง (3)อาคารเขียว (3)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (3)เฉดสีทาภายใน (3)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)ceramic cooling (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ตรุษจีน (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปลวก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ร้านขายสีออนไลน์ (2)รีวิว (2)ลดหย่อนภาษี (2)สัญลักษณ์รักษ์โลก (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีเย็น (2)สีแดง (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2)แอโรเทค (2)โรคหน้าฝน (2) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)2in1 (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)Beger AI (1)beger plug-in color library (1)Beger Polyurethane 2K (1)beger-hdc (1)begerclub (1)begercoin (1)carbon (1)carbonfootprint (1)color design (1)color trends 2022 (1)easy e-receipt (1)EPD (1)facebook (1)Gold Ion (1)Green Building (1)Heat index (1)lgbtq (1)Low VOC (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันซึมดาดฟ้า (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กำจัดปลวก (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ดาวน์โหลดสีเบเยอร์ (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ทินเนอร์ (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นวัตกรรมสีทาบ้าน (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาบ้านฝนตก (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังไม้ (1)ผิวปูนแห้ง (1)ผู้นำสีทาบ้าน (1)ฝาท่อเยาวราช (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รอยแตกร้าวเพดาน (1)ระบบกันซึมบ้าน (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีรองพื้นกันสนิม ใกล้ฉัน (1)รูตะปู (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีซ่อมผิวปูนหลุด (1)วิธีดูแลบ้านหน้าฝน (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สายมู (1)สี 2 in 1 (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีคุณภาพ (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาภายนอกสะท้อนความร้อน (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาหลังคาอเนกประสงค์ (1)สีทาอาคาร (1)สีทาเคลือบพื้นไม้ (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้สีขาว (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นกันสนิม Beger (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีสำหรับ BIM (1)สีสำหรับ Revit (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเคลือบไม้ยูรีเทน (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เต่าคูล (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แก้ปัญหาน้ำรั่วซึม (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โปรโมชั่นสีทาบ้าน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

รู้จักดัชนีความร้อน สิ่งที่ทำให้รู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิอากาศจริง

Heat index

เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แค่ช่วงฤดูร้อน ก็รู้สึกร้อนตับแทบแตก นี่เป็นปัญหาที่ไม่เล็กแต่สำคัญระดับโลกที่มีสาเหตุมาจากภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือที่ถูกยกระดับให้เป็นภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ไปแล้ว รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Niño) ที่ส่งผลให้บ้านเราขาดแคลนน้ำและแห้งแล้งด้วย

ในประเทศไทยเองก็เผชิญกับอาการร้อนสูงขึ้นทุกปีครับ โดยคาดว่าจะสูงกว่า 40 องศาเซลเซียสในหลายจังหวัดและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยพื้นที่ที่ร้อนที่สุดนั้นสูงเกินกว่า 44 องศาเซลเซียสกันเลยทีเดียว ได้แก่ ตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย แม่ฮ่องสอน และอุดรธานี จนไม่อยากจินตนาการเลยว่าเราจะอยู่กันยังไงท่ามกลางอาการร้อนจัดขนาดนี้ 

ปัญหาคือแม้เราจะเห็นตัวเลขอุณหภูมิ 40 กว่าองศาเซลเซียสที่ว่าร้อนแล้ว แต่สถานการณ์จริงกลับร้อนยิ่งกว่า จนแอบคิดว่านี่เครื่องวัดอุณหภูมิเสียหรือเปล่าเนี่ย เรื่องนี้มีคำอธิบายที่เรียกว่า ดัชนีความร้อน (Heat Index) อยู่ครับ แล้วถ้าอยากรู้ว่าเจ้าดัชนีความร้อนนี้ส่งผลอะไรต่อเราบ้างไหม มาหาคำตอบพร้อมกันเลยครับผม

 

ดัชนีความร้อนคืออะไร?

ดัชนีความร้อน (Heat Index) คืออุณหภูมิที่เรารู้สึกได้ว่าอากาศร้อน ณ ขณะนั้นเป็นยังไง หรืออุณหภูมิที่ปรากฏ ณ ขณะนั้นเป็นยังไง โดยวิเคราะห์หาค่าดัชนีความร้อนในขณะนั้นออกมาเป็นตาราง จากสองตัวแปรหลัก คือ อุณหภูมิ (Temperature) ที่ตรวจวัดได้ และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ (Relative humidity) เพื่อประเมินความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนนั่นเอง

 

Heat index table

 

โดยค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศนี้เองที่มีส่วนโดยตรงให้ค่าดัชนีความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิจริง คิดคำนวณง่าย ๆ จะเป็นแบบนี้ครับ  

สมมติว่า ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ = 50% 

ที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส ค่าดัชนีความร้อนจะมีค่า 28 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงอุณหภูมิจริง

ที่อุณหภูมิ 41 องศาเซลเซียส ค่าดัชนีความร้อนจะมีค่า 58 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิจริง จึงเป็นผลให้เรารู้สึกร้อนกว่าปกติ

 

ผลกระทบจากดัชนีความร้อน

ผลกระทบจากดัชนีความร้อนหรือก็คือความร้อนในช่วงฤดูร้อนส่งผลกระทบในหลายด้าน ที่เราจะมาพูดกันในวันนี้หลัก ๆ คือ ผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คน และผลกระทบต่อตัวบ้านหรือสิ่งปลูกสร้างครับ

 

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ดัชนีความร้อนหรือความร้อนอาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ เกิดผดร้อน ตะคริวแดด เพลียแดด ไปจนถึงภาวะลมแดดหรือฮีทสโตรก (Heatstroke) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลย โดยผลกระทบจากค่าดัชนีความร้อนจะแบ่งออกเป็น 4 ระดับความรุนแรงครับ

 

Heat index severe

 

นอกจากนี้ความร้อนยังอาจเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพอย่างโรคหัวใจ โรคไต โรคระบบทางเดินหายใจ รวมถึงสุขภาพจิต โดยเฉพาะกับเด็ก คนสูงอายุ คนที่ทำงานกลางแจ้ง คนที่มีโรคประจำตัวหรือกำลังใช้ยาตามที่หมอสั่งได้ด้วย

 

ผลกระทบต่อบ้าน 

หลายคนน่าจะทราบกันดีว่า ความร้อนจากแสงอาทิตย์และรังสี UV ที่มาพร้อมกันส่งผลยังไงกับบ้านของเรา เพราะจากบ้านสวย ๆ พอโดนแดดเลียก็กลับซีดจางได้เลย แถมการจะทาสีกลางแดดก็อาจเสี่ยงฟิล์มสีบวมพองจากไอน้ำภายในปูน ยิ่งถ้าเราใช้สีทาบ้านคุณภาพต่ำ สีหมดอายุ หรือสีที่ไม่มีคุณสมบัติปกป้องบ้านและกันร้อนครบทุกมิติครับ

 

รวมวิธีลดความร้อน บ้านไม่ร้อน คนก็เย็น

ถ้ามันร้อนจัดจนอยู่ไม่ได้ เราก็ต้องคลายความร้อนกันหน่อย วิธีลดร้อนที่จะนำเสนอนี้นอกจากจะช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน ยังมีหนทางลดโลกร้อนอันเป็นปัญหาหลักของเราในระยะยาวด้วย มาช่วยกันลดร้อนคนละไม้ละมือกันนะครับ

 

  • ดื่มน้ำเปล่าตลอดทั้งวัน ให้ได้ประมาณ 6-8 แก้ว แต่น้ำจำพวกคาเฟอีนและแอลกอฮอล์นี่ควรงดนะครับ
  • สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย ระบายอากาศได้ดี ถ้าออกจากบ้านก็ต้องไม่ลืมทาครีมกันแดดและสวมหมวกเสมอ
  • งดกิจกรรมกลางแจ้งหรือถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ควรพกร่ม พัดลม อยู่ใต้เงาแดด หรือเลือกช่วงที่แดดไม่จัดอย่างช่วงเช้าหรือช่วงเย็น
  • เปิดแอร์ช่วยทำความเย็น แต่ควรล้างแอร์บ่อย ๆ จะได้ไม่กินไฟ 
  • ลดการใช้ไฟฟ้า เช่น ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่ได้ใช้งาน หรือเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5
  • หันมาใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
  • คัดแยกขยะด้วยหลัก 3R: Reduce ลดการใช้, Reuse นำกลับมาใช้ซ้ำ, Recycle นำกลับมาใช้ใหม่
  • ทาสีบ้านเย็น ป้องกันความร้อน ช่วยประหยัดไฟให้บ้านในระยะยาว

 

อาจจะจินตนาการไม่ออกว่า การทาสีบ้านเย็นช่วยลดความร้อนได้ยังไง? ที่จริงแล้ว สีเบเยอร์คูล (BegerCool) อย่าง สีเบเยอร์คูล ไดมอนด์ชิลด์ 15 จะมีคุณสมบัติที่ช่วยสะท้อนและสกัดกั้นความร้อนได้สูง ทำให้บ้านเย็นขึ้น แถมประหยัดค่าไฟ ไม่ว่าจะทาสีเข้มหรือสีอ่อนก็ไม่หวั่น

 

BegerCool for Heat index

 

สีรุ่นนี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และได้รับฉลากลดโลกร้อน หรือที่เรียกว่าฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์  จากสถาบันบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกประเทศไทย การทาสีบ้านเย็นจึงถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยลดความร้อนและลดโลกร้อนได้จริง ๆ ครับ 

ค่าดัชนีความร้อนนั้นช่วยตอบคำถามได้ว่า ทำไมเรารู้สึกร้อนกว่าอุณหภูมิอากาศจริง และเมื่อรู้คำตอบแล้ว ก็ถึงเวลาเตรียมตัวรับมือกับความร้อนที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ ก่อนเกิดผลกระทบต่อชีวิตของเรา ถ้าไม่รู้จะทำยังไงก็เริ่มจากที่เราแนะนำในบทความนี้ได้เลย ดูแลสุขภาพของตัวเองแล้ว ก็อย่าลืมดูแลบ้านและโลกของเรากันนะครับ เริ่มเลย! 

SHARE :