ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (31)สีทาภายใน (28)เบเยอร์คูล (20)กิจกรรม (19) สีทาบ้านภายนอก (18)สิ่งแวดล้อม (13)ปัญหาบ้านหน้าฝน (11)รักษ์โลก (11)ไอเดียสี (11)begercool (10)สีทาเหล็ก (10)sustainability (9)สีทาบ้าน (9)โปรโมชั่น (9)ทาสีบ้าน (8)ทาสีบ้านใหม่ (8)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (8)รีโนเวทบ้านเก่า (8)ไอเดียแต่งบ้าน (8)สีงานไม้ (7)สีทาภายนอก (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ซ่อมบ้าน (6)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีทาไม้ (6)สีย้อมไม้ (6)color trends (5)คาร์บอน (5)สีคาร์บอนต่ำ (5)สีทาหลังคา (5)สีบ้านเย็น (5)สีห้องนอน (5)อุดโป๊ว (5)เฉดสียอดนิยม (5)เชื้อรา (5)กันซึม (4)กันรั่ว (4)น้ำท่วม (4)สีทากันซึม (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีรักษ์โลก (4)สีเบเยอร์ (4)หลังคา (4)ห้องครัว (4)ฮวงจุ้ย (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)AeroTech (3)BegerReWithYou (3)ความชื้น (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทน 2K (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)รอยแตกร้าว (3)ฤกษ์มงคล (3)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (3)สีบ้านมงคล (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีอุตสาหกรรม (3)สีเหลือง (3)อาคารเขียว (3)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (3)เฉดสีทาภายใน (3)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)ceramic cooling (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ตรุษจีน (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปลวก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ร้านขายสีออนไลน์ (2)รีวิว (2)ลดหย่อนภาษี (2)สัญลักษณ์รักษ์โลก (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีเย็น (2)สีแดง (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2)แอโรเทค (2)โรคหน้าฝน (2) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)2in1 (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)Beger AI (1)beger plug-in color library (1)Beger Polyurethane 2K (1)beger-hdc (1)begerclub (1)begercoin (1)carbon (1)carbonfootprint (1)color design (1)color trends 2022 (1)easy e-receipt (1)EPD (1)facebook (1)Gold Ion (1)Green Building (1)Heat index (1)lgbtq (1)Low VOC (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันซึมดาดฟ้า (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กำจัดปลวก (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ดาวน์โหลดสีเบเยอร์ (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ทินเนอร์ (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นวัตกรรมสีทาบ้าน (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาบ้านฝนตก (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังไม้ (1)ผิวปูนแห้ง (1)ผู้นำสีทาบ้าน (1)ฝาท่อเยาวราช (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รอยแตกร้าวเพดาน (1)ระบบกันซึมบ้าน (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีรองพื้นกันสนิม ใกล้ฉัน (1)รูตะปู (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีซ่อมผิวปูนหลุด (1)วิธีดูแลบ้านหน้าฝน (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สายมู (1)สี 2 in 1 (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีคุณภาพ (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาบ้านเย็น (1)สีทาภายนอกสะท้อนความร้อน (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาหลังคาอเนกประสงค์ (1)สีทาอาคาร (1)สีทาเคลือบพื้นไม้ (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้สีขาว (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นกันสนิม Beger (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีสำหรับ BIM (1)สีสำหรับ Revit (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเคลือบไม้ยูรีเทน (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เต่าคูล (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แก้ปัญหาน้ำรั่วซึม (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โปรโมชั่นสีทาบ้าน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

โลกร้อนขึ้นกี่องศาต่อปี และจะเป็นอย่างไรหากโลกร้อนทะลุจุดเดือด

โลกร้อนขึ้นกี่องศา

ทุกคนน่าจะรู้สึกได้ว่าโลกร้อนขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนเดือนเมษายนที่หลายจังหวัดของไทยร้อนระอุทะลุ 40 องศาเซลเซียส แต่คำว่าร้อนมากในที่นี้คือเท่าไหร่ โลกเราร้อนขึ้นกี่องศาแล้ว และจะเป็นอย่างไรหากโลกยิ่งร้อนจนทะลุจุดเดือด มาศึกษาเรื่องนี้ไปพร้อมกัน   

 

โลกร้อนขึ้นกี่องศา?

อันที่จริง อุณหภูมิโลกเรานั้นสูงขึ้นเรื่อยมานับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ณ ปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยที่ 1.1 องศาเซลเซียส โดยหลัก ๆ มาจากการกระทำของมนุษย์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่าง คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) สู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ และในช่วงทศวรรษ (ปี 2015-2023) ที่ผ่านมาก็ถือเป็นช่วงปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์โลก   

จากสถิติเมื่อไม่กี่ปีก่อนที่บอกกับเราว่าปี 2016 และ 2020 เป็นปีที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากปีฐานสูง 2 อันดับแรก คือ 1.03 และ 1.01 องศาเซลเซียสตามลำดับ แต่ปัจจุบันถูกโค่นด้วยปี 2023 อุณหภูมิเฉลี่ย 1.18 องศาเซลเซียส สูงสุดเท่าที่เคยบันทึกมา ซึ่งก็เป็นเป็นไปตามคาดการณ์ของนักวิทยาศาสตร์จากองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก 

Global temperature

ที่น่ากลัวไปกว่านั้นยังมีการประเมินอีกว่า หากมนุษย์ยังทำกิจกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง ภายในปี 2027 หรือไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า โลกอาจมีอุณหภูมิสูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเพดานตัวเลขที่ตั้งเป้าไว้ตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) กำหนดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงไปกว่านี้นั่นเอง

หนึ่งจุดสำคัญของการขยับจากโลกร้อนไปสู่โลกเดือดอยู่ที่ตรงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมาจากการสกัดและเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ไฟป่า และกระบวนการทางธรรมชาติอย่างภูเขาไฟระเบิด ซึ่งในปัจจุบันความเข้มข้นของคาร์บอนเฉลี่ยในบรรยากาศที่วัดได้จะอยู่ที่ 426 ส่วนต่อล้าน (parts per million: ppm) เพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม

หากวันที่ความเข้มข้นของคาร์บอนพุ่งสูงกว่า 500 ppm มาถึง เราอาจจะได้เห็นครอบน้ำแข็ง (Ice Cap) ละลายเป็นวงกว้าง และกรณีที่เลวร้ายที่สุดหากแตะถึง 1,000 ppm อาจไม่มีมนุษย์คนไหนดำรงชีวิตบนโลกนี้ได้หรือใช้ชีวิตได้ลำบากมาก ประหนึ่งย้อนกลับไปยังโลกเมื่อ 50 ล้านปีก่อน เพราะอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นกว่า 10 องศาเซลเซียส น้ำแข็งในโลกจะเหลือน้อยมาก และน้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่า 60 เมตร   

carbon parts per million

 

ผลกระทบจากโลกร้อนขึ้นจนทะลุจุดเดือด

การเพิ่มขึ้นอุณหภูมิโลกอันเนื่องมาจากก๊าซเรือนกระจกส่งผลอย่างมากต่อธรรมชาติและสิ่งมีชีวิต แม้จะเพิ่มเพียงหลักทศนิยมก็ไม่อาจละเลยไปได้ เพราะตัวเลขที่บวกเพียง 0.1 องศาเซลเซียส อาจเปลี่ยนรักษ์โลกเป็นทำร้ายโลกได้เลย 

ซึ่งจากอุณหภูมิเฉลี่ย 1.1 องศาเซลเซียสในปัจจุบัน ก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อโลกมากมาย เช่น สภาพอากาศที่รุนแรง เลวร้าย หรือเกิดบ่อยขึ้นอย่าง ภัยแล้ง คลื่นความร้อน ฝนตกหนัก ธารน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น หรือมหาสมุทรอุ่นขึ้น ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทั้งทรัพยากร อาหาร ชีวิต รวมถึงทรัพย์สินด้วย

Global temperature

ลองมาดูตัวอย่างคาดการณ์ผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น 1.5 และ 2 องศาเซลเซียส เพิ่มเติมกัน

 

อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส

  • วันที่ร้อนมากในพื้นที่เขตละติจูดกลางจะร้อนขึ้น 3 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
  • 14% ของประชากรโลกจะเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงทุก 5 ปี
  • ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่า 0.40 เมตร ภายในปี 2100  
  • ปะการังเสี่ยงลดลงกว่า 70-90%
  • ปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อปีจะลดลงราว 1.5 ล้านตัน 
  • ผลผลิตของข้าวโพดในพื้นที่เขตร้อนจะลดลงราว 3%
  • 4% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 6% แมลงและ 8% ของพืช จะมีความหลากหลายทางชีวภาพลดลง

 

อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส  

  • วันที่ร้อนมากในพื้นที่เขตละติจูดกลางจะร้อนขึ้น 4 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
  • 37% ของประชากรโลกจะเผชิญกับคลื่นความร้อนสูงทุก 5 ปี
  • ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่า 0.46 เมตร ภายในปี 2100  
  • ปะการังเสี่ยงลดลงกว่า 99%
  • ปริมาณการจับสัตว์น้ำต่อปีจะลดลงราว 3 ล้านตัน
  • ผลผลิตของข้าวโพดในพื้นที่เขตร้อนจะลดลงราว 7%
  • 8% ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง 16% ของพืช และ 18% แมลง จะมีความหลากหลายทางชีวภาพลดลง 

ผลกระทบโลกร้อน

 

อุณหภูมิที่สูงขึ้นไม่ว่าจะ 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส ยังอาจนำไปสู่ปัญหาด้านอาหาร ปัญหาสุขภาพ และปัญหาความเป็นอยู่ได้ด้วย โดยคนในบางพื้นที่อาจไร้ที่อยู่ ความร้อนทวีความรุนแรงจนเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพและการเสียชีวิต การระบาดของโรคติดต่อจากแมลงอย่างมาลาเรียหรือไข้เลือดออก รวมถึงการขาดแคลนอาหาร โดยเฉพาะข้าวโพด ข้าว ข้าวสาลี หรือธัญพืชต่าง ๆ 

ไม่ว่าโลกร้อนขึ้นกี่องศาก็ล้วนส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งนี่ถือเป็นความรับผิดชอบของทุกคนในการตระหนักรู้และหันกลับมาร่วมมือร่วมใจรักษ์โลก ด้วยจุดเริ่มต้น Paint Beger, Paint the World Green สู่เป้าหมาย Net Zero Emission หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพื่อลดผลกระทบต่อโลกและสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุดก่อนส่งต่อให้ลูกหลานของเราในอนาคต

 

References:

SHARE :