ค้นหา

Tags

ปัญหาสีทาอาคาร (31)สีทาภายใน (27)เบเยอร์คูล (20)กิจกรรม (19) สีทาบ้านภายนอก (18)สิ่งแวดล้อม (13)ปัญหาบ้านหน้าฝน (11)รักษ์โลก (11)ไอเดียสี (11)begercool (10)สีทาเหล็ก (10)sustainability (9)โปรโมชั่น (9)ทาสีบ้าน (8)ทาสีบ้านใหม่ (8)ปัญหาสีซ่อมแซมตกแต่งพื้นผิว (8)รีโนเวทบ้านเก่า (8)สีทาบ้าน (8)ไอเดียแต่งบ้าน (8)สีงานไม้ (7)สีรองพื้น (7)โลกร้อน (7)ซ่อมบ้าน (6)ปัญหาสีงานไม้ (6)สีทาภายนอก (6)สีทาไม้ (6)สีย้อมไม้ (6)color trends (5)คาร์บอน (5)สีคาร์บอนต่ำ (5)สีทาหลังคา (5)สีบ้านเย็น (5)สีห้องนอน (5)อุดโป๊ว (5)เฉดสียอดนิยม (5)เชื้อรา (5)กันซึม (4)กันรั่ว (4)น้ำท่วม (4)สีทากันซึม (4)สีทาบ้านภายนอก (4)สีทาบ้านภายใน (4)สีน้ำมัน (4)สีรักษ์โลก (4)สีเบเยอร์ (4)หลังคา (4)ห้องครัว (4)ฮวงจุ้ย (4)ไอเดียแต่งห้อง (4) สีทาภายใน (3)AeroTech (3)BegerReWithYou (3)ความชื้น (3)ดูดวง (3)ตะไคร่น้ำ (3)ทาสีบ้านตามฮวงจุ้ย (3)ทาสีบ้านภายใน (3)ทาสีหน้าฝน (3)ผนังปูน (3)ยูรีเทน 2K (3)ยูรีเทนทาไม้ (3)รอยแตกร้าว (3)ฤกษ์มงคล (3)สีทากันซึมดาดฟ้าหลังคา (3)สีบ้านมงคล (3)สีสร้างลาย (3)สีห้องนั่งเล่น (3)สีอุตสาหกรรม (3)สีเหลือง (3)อาคารเขียว (3)เคมีภัณฑ์ก่อสร้าง (3)เฉดสีทาภายใน (3)Begerpaint (2)begerxppg (2)beyours (2)ceramic cooling (2)color of the year (2)griptech2in1 (2)nordic (2)tile-bond (2)work from home (2)กาวยาแนวกระเบื้อง (2)คราบสนิม (2)งานสถาปนิก (2)ซีลแลนท์ (2)ตรุษจีน (2)ทาสีบ้านเอง (2)ทาสีห้องนอน (2)บ้านลอฟท์ (2)บ้านสไตล์นอร์ดิก (2)ปลวก (2)ปัญหาคราบน้ำ (2)ผลิตภัณฑ์กำจักปลวก (2)ฟิลม์สีลอกล่อน (2)ร้านขายสีออนไลน์ (2)รีวิว (2)ลดหย่อนภาษี (2)สัญลักษณ์รักษ์โลก (2)สีทาเหล็ก 2 in 1 (2)สีทาเหล็กตระกูลเบเยอร์ (2)สีน้ำมันเคลือบเงาเหล็ก (2)สีนำโชค (2)สีผสม (2)สีมงคล (2)สีรองพื้นปูนเก่า (2)สีลอฟท์ (2)สีส้ม (2)สีห้องนอนตามวันเกิด (2)สีเย็น (2)สีแดง (2)อุดรอยรั่วทั่วทั้งบ้าน (2)เซรามิกคูลลิ่ง (2)เทรนด์สี 2022 (2)แต่งห้องนอน (2)แอโรเทค (2)โรคหน้าฝน (2) สีทาไม้ (1) เชื้อรา (1)2in1 (1)60-30-10 (1)activity (1)art effect (1)bangkok design week (1)Bangpo wood street (1)Beger AI (1)beger plug-in color library (1)Beger Polyurethane 2K (1)beger-hdc (1)begerclub (1)begercoin (1)carbon (1)carbonfootprint (1)color design (1)color trends 2022 (1)easy e-receipt (1)EPD (1)facebook (1)Gold Ion (1)Green Building (1)Heat index (1)lgbtq (1)Low VOC (1)Natural (1)ozone (1)pride month (1)renovate (1)review (1)sealant (1)super gold (1)super pearl (1)super white (1)VOCs (1)y2k (1)กลิ่นอับ (1)กันซึมดาดฟ้า (1)กันร้อน (1)การนอนหลับ (1)กาวซีเมนต์ (1)กาวพียู (1)กาวยาแนว (1)กำจัดปลวก (1)กิจกรรมวันแม่ (1)คราบสนิมบนพื้นผิวโลหะ (1)คราบเกลือ (1)ความหมายสี (1)คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (1)คำนวณงบสีทาบ (1)คำนวนสีทาบ้าน (1)งบทาสีบ้าน (1)งานสถาปนิก66 (1)งานไม้แนวตั้ง (1)จิตใจ (1)จีน (1)ด่างปูน (1)ดาดฟ้ารั่ว (1)ดาวน์โหลดสีเบเยอร์ (1)ทาสีบ้านภายนอก (1)ทาสีฝ้า (1)ทาสีเหล็ก (1)ทาสีโครงหลังคา (1)ทาห้องสีชมพู (1)ทินเนอร์ (1)ธงสีรุ้ง (1)ธาตุเกิด (1)ธาตุไฟ (1)นวัตกรรมสีทาบ้าน (1)นอนไม่หลับ (1)นอร์ดิก (1)นัว (1)น้ำปูนลอยหน้า (1)บางโพ (1)บ้านสีขาว (1)บ้านสีควันบุหรี่ (1)บ้านสีดำ (1)บ้านอับชื้น (1)บาร์บี้ (1)ป้องกันคราบสนิม (1)ปัญหา (1)ปัญหางานไม้ (1)ปัญหาบ้านฝนตก (1)ปัญหาสีทองคำ (1)ปัญหาสีหน้าฝน (1)ปีชง (1)ปูนกาวเบเยอร์ (1)ผนังไม้ (1)ผิวปูนแห้ง (1)ผู้นำสีทาบ้าน (1)ฝาท่อเยาวราช (1)พลังสี (1)พาสเทล (1)พื้นเหนียว (1)พื้นไม้รอบสระน้ำ (1)ฟิล์มสีติดกัน (1)ฟิล์มสีบวมพอง (1)ฟิล์มสีเป็นเม็ด (1)ฟิล์มสีไม่ยึดเกาะ (1)ฟิล์มแตกเร็ว (1)ภาษีคาร์บอน (1)มูจิ (1)มูเตลู (1)ยางไม้ซึม (1)ยาแนว (1)ยูนีเทน (1)ยูนีเทน 2K (1)ยูรีเทน 1K (1)รหัสสีเบเยอร์ (1)รองพื้นกันสนิม (1)ร้อนอบอ้าว (1)รอยแตก (1)รอยแตกร้าวเพดาน (1)ระบบกันซึมบ้าน (1)รักษโลก (1)รักโลก (1)รับเหมาทาสี (1)รั้วเหล็ก (1)รางวัล (1)ร้านขายสีรองพื้นกันสนิม ใกล้ฉัน (1)รูตะปู (1)วอลเปเปอร์ (1)วันสืบนาคะเสถียร (1)วาเลนไทน์ (1)วิธีซ่อมผิวปูนหลุด (1)วิธีดูแลบ้านหน้าฝน (1)วิธีแก้กลิ่นอับ (1)สดใส (1)สายมู (1)สี 2 in 1 (1)สีmbti (1)สีกันซึม (1)สีขายดี (1)สีขาวควันบุหรี่ (1)สีคุณภาพ (1)สีตกแต่งพิเศษ (1)สีต่าง (1)สีถูกโฉลก (1)สีทองคำ (1)สีทองคำด (1)สีทองคำลอกล่อน (1)สีทาบ้านกันร้อน (1)สีทาบ้านที่ขาวที่สุด (1)สีทาบ้านหมดอายุ (1)สีทาภายนอกสะท้อนความร้อน (1)สีทาหลังคากันร้อน (1)สีทาหลังคาอเนกประสงค์ (1)สีทาอาคาร (1)สีทาเคลือบพื้นไม้ (1)สีทาโครงหลังคา (1)สีทาไฟเบอร์ซีเมนต์ (1)สีทาไม้สีขาว (1)สีทาไม้เทียม (1)สีธรรมชาติ (1)สีน้ำเงิน (1)สีบ้านถูกโฉลก (1)สีบ้านสไตล์นอร์ดิก (1)สีบ้านโทนเย็น (1)สีฝุ่นชอล์ก (1)สีพาสเทล (1)สีฟ้า (1)สียอดนิยม (1)สีรองพื้นกันสนิม Beger (1)สีรองพื้นปูนอเนกประสงค์ (1)สีรองพื้นปูนใหม่ (1)สีลอกล่อน (1)สีวันแม่ (1)สีสงกรานต์ (1)สีสด (1)สีสร้างสมาธิ (1)สีสำหรับ BIM (1)สีสำหรับ Revit (1)สีหมดอายุ (1)สีห้อง (1)สีห้องนอนโทนร้อน (1)สีห้องนอนโทนเย็น (1)สีห้องยอดนิยม (1)สีห้องวัยรุ่น (1)สีห้องเด็ก (1)สีห้องโทนเย็น (1)สีเข้ม (1)สีเคลือบเงาเหล็ก (1)สีเคลือบไม้ยูรีเทน (1)สีเบส (1)สีเบอร์ (1)สีเบเยอร์คูล (1)สีเป็นผง (1)สีเป็นฝุ่น (1)สีแห่งปี (1)สีโทนเย็น (1)สีโป๊ว (1)สเปรย์น้ำมันอเนกประสงค์ (1)สเปรย์หล่อลื่น (1)หน้าฝน (1)หลับยาก (1)หวานๆ (1)ห้องกว้าง (1)ห้องทำงาน (1)ห้องนอน (1)ห้องนอนลอฟท์ (1)ห้องนั่งเล่น (1)ห้องสีขาว (1)ห้องสีควันบุหรี่ (1)ห้องสีชมพู (1)ห้องสีชมพูพาสเทล (1)ห้องสีแดง (1)ห้องใต้หลังคา (1)หินอ่อน (1)อารมณ์ (1)อีซี่คลีนแอนด์แคร์ (1)ฮาโลวีน (1)เจอคูลบอกที (1)เชื้อราบนไม้ (1)เต่าคูล (1)เทคนิคทาสี (1)เบเยอร์ ซูพรีม (1)เบเยอร์ วัน (1)เบเยอร์ชิลด์ (1)เฟอร์ไม้ฉ่ำรับสงกรานต์ (1)เย็นจริงทนจังในถังเดียว (1)เย็นเถิดชาวไทย (1)เย็นเถิดชาวไทยใช้สีเบเยอร์คูล (1)เหนียว (1)เหม็นอับ (1)เหล็กกัลวาไนซ์ (1)แก้ชง (1)แก้ปัญหาน้ำรั่วซึม (1)แต่งห้อง (1)แต่งห้องนั่งเล่น (1)แถม (1)แม่และเด็ก (1)แลคเกอร์ (1)แสง (1)โกลด์ ไอออน (1)โควิด (1)โชคลาภ (1)โถงทางเดิน (1)โทนเย็น (1)โปรแกรมคำนวณคาร์บอน (1)โปรโมชั่นสีทาบ้าน (1)โลกเดือด (1)โหราศาสตร์ (1)โอ๊ต ปราโมทย์ (1)โอโซน (1)ไทล์บอนด์ (1)ไม้สน (1)ไม้เนื้ออ่อน (1)

หลังคารั่วซึม ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนหลังคาใหม่ แบบไหนคุ้มกว่ากัน?

ฝนตกหลังคารั่ว

รั่วเก่งจริง ๆ เลยนะ ตัวแค่เนี้ย! ปัญหาหลังคารั่วสุดปวดหัว มักจะฟ้องอาการให้เห็นในช่วงหน้าฝนแบบนี้แหละ ดูได้จากพวกรอยคราบน้ำที่ไหลลงมาตามผนัง ฝ้าเพดานบวมพองเป็นเชื้อรา หรือเกิดน้ำหยดลงมาตอนฝนตก หลายครั้งมันสร้างความรำคาญ และทำให้ทรัพย์สินในบ้านเสียหาย

 

รับชมวิดีโอแนะนำการซ่อมหลังคารั่วซึม

การซ่อมหลังคารั่วทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์อุดรอยรั่ว กาวซิลิโคน กาวอะคริลิก สีทากันซึม เทปกาวกันซึม สเปรย์อุดรอยรั่ว ฯลฯ  แต่ในบางกรณีที่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเอาไม่อยู่ อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่ แล้วจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่ารั่วแบบนี้ซ่อมได้ หรือว่าต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่?

หลังคารั่วแบบไหนที่สามารถซ่อมได้ด้วยผลิตภัณฑ์

หลังคารั่วจากการแตกร้าวเล็กน้อย

การแตกร้าวเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยมาก ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากหลังคาเดิมเสื่อมสภาพลงไป หรือถูกสิ่งต่าง ๆ กิ่งไม้ ลูกเห็บ ฯลฯ ตกใส่ โดยเฉพาะหลังคากระเบื้องจะมีโอกาสแตกร้าวได้สูงกว่าหลังคาสังกะสีและหลังคาเมทัลชีท    

หลังคารั่วจากรอยแตกร้าว

 

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ่อม

กรณีที่รอยร้าวไม่ได้ใหญ่มาก ขนาดไม่เกิน 1 - 10 มม. สามารถใช้อะคริลิกกันซึมที่มีความยืดหยุ่นสูงมาอุดรอยแตกนั้นได้ เช่น Beger Acrylic Sealant F-001  หรือสามารถใช้เทปกาวกันซึม บิวทิลเทป เทปซีล ได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามวัสดุกันซึมอุดโป๊วเหล่านี้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 4 - 5 ปี ขึ้นอยู่กับเกรดของสินค้าและสภาวะอากาศที่ต้องเผชิญ ไม่ได้อยู่ถาวร ในส่วนนี้คุณอาจจะต้องวางแผนการซ่อมในระยะยาวล่วงหน้าเอาไว้ด้วย

 

แนะนำผลิตภัณฑ์อุดโป๊วรอยแตกร้าวหลังคา

 

โดยปกติพวกผลิตภัณฑ์อุดโป๊วมักจะมีเนื้อสีขาว หรือสีเทา แล้วเมื่อใช้งานเสร็จจะเห็นรอยโป๊วอย่างชัดเจน บางคนอาจจะรู้สึกว่ามันทำให้หลังคาบ้านของเราหมดสวย ซึ่งวิธีแก้ไขคือการทาทับด้วยสีทาหลังคา เช่น Beger Synotex RoofPaint เพื่อให้กลบรอยโป๊วเหล่านั้น หลังคาก็จะกลับมาสวยดังเดิมครับ

 

สีทาหลังคา

 

หลังคารั่วจากกันซึมเดิมเสื่อมสภาพ

บรรดาพวกผลิตภัณฑ์กันซึมชนิดต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่มีอายุการใช้งานของมัน ซึ่งปกติจะเริ่มเสื่อมสภาพลงประมาณ 3 - 5 ปี แล้วประสิทธิภาพในการอุดรอยแตกรอยร้าวจะค่อย ๆ ลดลงทำให้ปัญหารั่วซึมเดิมปรากฎขึ้นได้

หลังคารั่วจากรูสกรู น็อต ที่เจาะยึดบนหลังคา

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ่อม

ขูดลอกผลิตภัณฑ์เดิมที่เสื่อมออก แล้วใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่มาซ่อมอุดโป๊วอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนการขูดลอกนำผลิตภัณฑ์เดิมออก ต้องระวังให้ดีเพราะบางครั้งอาจจะสร้างความเสียหายให้กับหลังคาจนต้องทำการเปลี่ยนแผ่นใหม่ได้  

หลังคารั่วจากน้อต ตะปู สกรูยึดหลังคา

ในการติดตั้งหลังคา นอกจากการใช้ปูนกาวเพื่อยึดติดกับโครงสร้าง ยังมีวิธีเจาะหลังคาแล้วใช้น้อต ตะปู หรือสกรูยึดเอาไว้แทน โดยเฉพาะหลังคาที่เป็นสังกะสี หรือหลังคาเมทัลชีต ซึ่งการเจาะอาจทำให้น้ำสามารถรั่วซึมผ่านรอยเจาะเหล่านั้นได้ และแม้ว่าพวกอุปกรณ์ยึดเหล่านี้มักจะมีแผ่นยางหรือแหวนรองไว้ แต่ถ้าแผ่นยางเสื่อม แหวนรองเป็นสนิม หรือมีติดตั้งไม่ดีพอ ก็มีโอกาสที่น้ำจะซึมผ่านเข้าไปได้เช่นเดียวกัน

 

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ่อม

เราสามารถใช้ปืนกาวซิลิโคนซีลอุดรอบ ๆ สกรูยึดเพื่อไม่ให้น้ำเข้าไป ตัวซิลิโคนแนะนำเป็นชนิดที่ไม่มีกรดนะครับเพราะมันจะไม่กัดพื้นผิว แล้วใช้สีทากันซึม เช่น Beger ROOFSEAL Cool หรือ Beger Roof Guard มาทาทับไปอีกเพื่อเสริมความทนทานได้ครับ แต่ถ้าอยากให้ปัญหาหายขาดแนะนำให้เปลี่ยนชุดอุปกรณ์ยึดหลังคาใหม่เลยครับ

หลังคารั่วบริเวณสันหลังคา

บริเวณสันหลังคา หรือที่มักเรียกว่าสันตะเข้ จะถูกครอบด้วยตัวครอบหลังคา เพื่อปิดช่องว่างระหว่างสันหลังคาสองฝั่ง ปกติช่างจะใช้ปูนทาด้านใต้เพื่ออุดไว้ระหว่างตัวครอบกับสันหลังคา แต่เมื่อปูนเริ่มมีรอยร้าวน้ำก็อาจจะเข้ามาได้

หลังคารั่วบริเวณสันหลังคา ตะเข้

 

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ่อม

นำวัสดุกันซึม เช่น กาวซิลิโคน หรืออะคริลิกมาอุดจุดที่เป็นช่องว่าง หรืออาจจะสกัดปูนเดิมออกแล้วทาปูนใหม่ แล้วทาผลิตภัณฑ์กันซึมทับอีกชั้นหนึ่ง

หลังคารั่วบริเวณรอยต่อ

รอยต่อในที่นี้จะหมายถึง รอยต่อระหว่างหลังคาที่ชนกับผนัง หลังคาชนกับส่วนต่าง ๆ  และรอยต่อระหว่างแผ่นหลังคาเอง โดยถ้ารอยต่อเหล่านี้เกิดช่องว่าง ไม่ได้ถูกซีลอย่างถูกต้อง น้ำก็อาจจะรั่วซึมเข้ามาได้

หลังคารั่วจากรอยต่อหลังคากับหลังคา และหลังคากับผนัง

 

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ่อม

ใช้พวกกาวซิลิโคนชนิดไม่มีกรดมาอุดรอยบริเวณรอยต่อ แต่ต้องทำใจไว้ก่อนว่าซิลิโคนจะไม่ค่อยทนสภาวะอากาศมากนัก และมีอายุการใช้งานประมาณ 2 - 5 ปี หรืออาจจะใช้สเปรย์โฟม PU อุดรอยรั่ว ทั้งนี้คุณอาจจะเลือกใช้วิธีอุดรอยต่อเหล่านั้นด้วยผลิตภัณฑ์โพลียูรีเทนกันซึม เช่น Beger ROOFSEAL Cool แล้วปูทับด้วยโพลียูรีเทนกันซึมทับในชั้นแรก ปูแผ่นไฟเบอร์เมชแล้วทากันซึมทับในชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 ก็จะยืดอายุได้มากขึ้นครับ

 

สินค้าแนะนำ กันซึม Beger ROOFSEAL Cool และ Fiber Mesh

 

หลังคารั่วจากรางน้ำฝนอุดตัน

รางรองน้ำฝนเกี่ยวอะไรกับหลังคารั่ว? รางน้ำฝนที่มักจะเกิดปัญหาคือรางน้ำฝนที่อยู่ใต้หลังคาบริเวณรอยต่อทั้งสองด้าน ซึ่งเมื่อรางน้ำฝนอุดตันน้ำไม่สามารถไหลผ่านได้ มันจะเอ่อล้นจนสูงกว่าช่องของหลังคาทำให้น้ำไหลย้อนเข้าไปในหลังคานั่นเอง

หลังคารั่วจากรางน้ำฝนอุดตัน

 

ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซ่อม

ป้องกันด้วยการปิดร่องดังกล่าวไปเลยด้วยกันซึมที่ยืดหยุ่นสูง เช่น Beger ROOFSEAL Cool นำไปทาปิดบริเวณร่องดังกล่าวสัก 3 เที่ยว โดยเที่ยวที่สองใช้ปูทับด้วยแผ่นไฟเบอร์เมช นอกจากนี้ควรหมั่นทำความสะอาดรางน้ำฝนอยู่สม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้เศษกิ่งไม้ ใบไม้ เศษดิน ฝุ่นที่อาจทำให้อุดตัน

 

สาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วแล้วต้องเปลี่ยนหลังคาใหม่

หลังคาแตกร้าวใหญ่

ถ้าหลังคาของคุณมีรอยแตกร้าวที่ใหญ่มากกว่า 3 ซม. มีการผุแตก หรือเป็นรูใหญ่ ๆ ซึ่งมันเกินกว่าผลิตภัณฑ์อุดกันรั่วต่าง ๆ จะรับมือได้ วิธีการแก้ของปัญหานี้คือเปลี่ยนหลังคาใหม่สถานเดียวครับ

หลังคาแตกร้าวขนาดใหญ่ เป็นรูขนาดใหญ่

  

การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน

การติดตั้งหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น การปูที่ไม่ได้องศาที่ถูกต้อง เบี้ยว เกยกันไม่ดี เอียงไม่ได้ระดับ ชันน้อยเกินไป หรือโครงสร้างหลังคาแอ่น สั้นเกินไป ปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วทำให้น้ำฝนไหลเข้าไปในบ้านและเกิดการรั่วซึมได้ทั้งสิ้น ซึ่งการแก้ไขต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาตรวจเช็ก ซึ่งแน่นอนว่าส่วนใหญ่ช่างจะแนะนำให้ปูหลังคาใหม่ทั้งหมด ปรับเรื่องโครงสร้าง หรือเปลี่ยนแก้เฉพาะส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาครับ

หลังคารั่วจากการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน

หลังคารั่วจากส่วนต่อเติม

บ้านที่ทำการต่อเติมส่วนอื่นเพิ่มขึ้นมาใหม่ เช่น ห้องครัว หรือโรงจอดรถ มักจะสร้างให้มีผนังอยู่ติดกับบ้านและดีไซน์ให้หลังคาอยู่ต่ำลงมาจากเดิม ซึ่งแม้ว่าจะทำเป็นปีกนก หรือทำให้หลังคายื่นออกมาเพิ่มขึ้น แต่ถ้าผนังกับหลังคามันเชื่อมกันไม่สนิท ก็มีโอกาสที่จะเกิดการรั่วได้ ยิ่งไปกว่านั้นถ้ารูปแบบหลังคาที่เลือกใช้ที่ไม่เหมาะกับโครงสร้างก็ส่งผลทำให้น้ำเข้าบ้านได้เช่นกัน การแก้ไขคือต้องหาคำตอบให้เจอว่ามันรั่วตรงไหน หากเป็นที่โครงสร้างจะต้องรื้อปูหลังคาใหม่ให้ถูกต้อง แต่ถ้าเป็นเพราะรอยต่อที่ไม่สนิทหรือมีรอยแตกร้าว สามารถใช้ผลิตภัณฑ์กันซึมมาทาอุดได้ครับ

หลังคารั่วจากส่วนต่อเติม

 

ซ่อมหลังคารั่ว ราคาเท่าไหร่

ราคาในการซ่อมหลังคาจะขึ้นอยู่กับปัญหาการรั่ว วิธีการ วัสดุ และพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถระบุอย่างชัดเจนได้ แต่โดยทั่วไปก่อนทำการซ่อมแซมหลังคาจะมีราคาสำรวจหน้างานก่อนซ่อมเริ่มต้นที่ประมาณ 2,000 - 2,500 บาท และสำหรับราคาทาสีหลังคาจะเริ่มต้นที่ประมาณ 35,000 บาท หรือทากันซึมดาดฟ้าจะเริ่มต้นที่ประมาณ 48,000 บาท ต่อ 100 ตารางเมตร

  • ในบางบริษัทสามารถนำค่าสำรวจหน้างานไปเป็นส่วนลดค่าซ่อมได้
  • บางบริษัทค่าราคาสำรวจหน้างานจะรวมค่าซ่อมแซมเบื้องต้นมาให้ด้วย
SHARE :